Archives
ประวัติของปากกาลูกลื่น
ปากกาที่เราเห็นๆกันอยู่ทุกวันนี้มีหลายยี่ห้อ หลายสี หลายขนาด หลายประเภท นับได้ว่าเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนที่สำคัญในชีวิตของคนเราตั้งแต่เด็กจนแก่บางคนมีใช้อยู่หลายชนิดเพื่อต้องการที่จะใช้ในงานที่ต่างกัน เพราะถ้าเราไม่ได้สนใจเรื่องของยี่ห้อมากนักเท่าไหร่ เราก็สามารถซื้อปากกาหลายๆด้าม ในราคาที่ถูก เมื่อปากกาหมึกหมด โดยส่วนใหญ่ที่เอาไว้ใช้เขียนในชีวิตประจำวันนั้น ก็คือ ปากกาลูกลื่น เพราะมีราคาที่ไม่แพง และ ใช้งานง่าย หายก็ไม่ค่อยเสียดาย ปากกาลูกลื่นมีมาช้านานแล้ว ซึ่งผู้ที่คิดค้นเป็นคนแรกคือ “ไบโร” ในตอนแรกเขาเริ่มจากการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1938 แต่แล้วยังไม่ทันได้เริ่มทำอย่างจริงๆจังๆ ก็เกิดเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นก่อน แล้วตัวเขานั้นได้หนีหลบภัยไปอยู่ที่ฝรั่งเศส สเปน และเวียนไปอีกๆหลายประเทศ จนสุดท้ายก็ได้มาอยู่ที่ อาร์เจนตินา ได้สองปีกว่า กระทั่งในปี ค.ศ.1940 เขาได้รับการช่วยเหลือจากพี่ชายที่เป็นนักเคมีอยู่ในขณะนั้น และทั้งสองจึงได้เริ่มผลิตพัฒนาปากกาลูกลื่นให้ออกมาจำหน่าย ซึ่งในความคิดของทั้งคู่มันไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะ ณ ช่วงเวลานั้น พวกเขาขาดทุนทรัพย์ จึงทำให้เขาต้องยอมขายลิขสิทธิ์ทิ้งกับสิ่งที่เขาคิดค้นในราคาเพียงไม่กี่เหรียญเท่านั้น กับทางราชการฝ่ายทหารของอังกฤษ และ อเมริกา ในเวลาต่อมาทางราชการได้ทำการขายลิขสิทธิ์ต่อให้กับบริษัท BIC ประเทศฝรั่งเศส และเริ่มผลิตปากกาลูกลื่นยี่ห้อ BIC ออกขายทั่วโลก จำหน่ายออกไปได้ถึง 10 ล้านด้ามต่อวันเลยทีเดียว และนี่ก็คือต้นกำเนิดของปากกาลูกลื่นที่ […]
Read moreปากกา แบบ ลูกลื่น เกิดขึ้นได้อย่างไร
กว่าที่คนเราจะใช้ ปากกา เป็นอุปกรณ์ในการเขียน กันทั่วไปเป็นปกติอย่างในปัจจุบันนี้ ปากกา ได้ผ่านการถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากแบบที่เป็นขนของนกหรือขนของห่านเอามาตัดปลาย ใช้จุ่มลงไปในน้ำหมึกเพื่อเขียน ซึ่งแน่นอนว่าแม้จะเขียนได้แต่ก็ไม่สะดวก เพราะต้องคอยจุ่มน้ำหมึกอยู่ตลอดเวลา และมักจะมีปัญหาเรื่องหมึกเลอะเวลาใช้งาน ตั้งแต่การเลอะจากมือที่ลากผ่านตัวหนังสือที่ยังไม่แห้ง ไปจนถึงปัญหาใหญ่อย่างขวดหมึกที่ต้องใช้เสมอในการเขียนถูกชนล้ม ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากวุ่นวายและเป็นปัญหาสาหัสเลยทีเดียวในเวลาที่เราต้องการทำงานสำคัญอย่างการบันทึก หรือเขียนเอกสาร ปากกา จึงได้รับการพัฒนาต่อมาเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เริ่มจากการปรับเปลี่ยนส่วนหัวของปากกาให้เป็นแบบมีร่องเก็บน้ำหมึก ที่ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาจุ่มน้ำหมึกบ่อยๆ อย่างไรก็ตาม มันยังไม่สะดวกมากนักในการใช้ เนื่องจากยังต้องจุ่มน้ำหมึกเวลาเขียนเหมือนเดิม จึงได้มีการพัฒนาปากกาหมึกซึมขึ้น ซึ่งสามารถทำให้การเขียนง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องคอยจุ่มน้ำหมึกตลอดเวลาในการเขียน น้ำหมึกจะถูกใส่เข้าไปภายในปากกาและไหลออกมาในเวลาที่เขียน ซึ่งมันเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1884 โดย เลวิช เอ็ดซัน วอร์เตอร์แมน (Lewis Edson Waterman) ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเพราะใช้งานสะดวกกว่าเดิม อย่างไรก็ตามยังไม่สะดวกในการใช้งานมากนัก เพราะปากกาหมึกซึมใช้เขียนได้เฉพาะบนกระดาษ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันนามว่า จอห์น เอช เลาวด์ จึงได้ทำการคิดค้นปากกาแบบใหม่ขึ้น เพื่อให้สามารถเขียนได้ง่ายบนวัสดุที่หลากหลายกว่าเดิม ด้วยการนำเอาโลหะกลมไปใส่ไว้ที่ส่วนหัว นั่นจึงทำให้เกิดมี ปากกา แบบใหม่เกิดขึ้นอีกแบบ ก็คือ ปากกาลูกลื่น อย่างไรก็ตามในช่วงแรกยังใช้ได้ไม่สะดวกและมีขนาดที่ไม่ค่อยพอเหมาะเท่าไหร่ ปากกาลูกลื่นมาเริ่มมีความทันสมัยและใช้งานสะดวกมากขึ้น เมื่อนักหนังสือพิมพ์ชาวฮังการี นามว่า บิโร […]
Read moreความแตกต่างระหว่าง ปากกา แบบลูกลื่น กับ หมึกซึม
ความแตกต่างระหว่าง ปากกา แบบลูกลื่น กับ หมึกซึม ปากกา ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ในการเขียนหนังสือหรือเซ็นเอกสารมีอยู่ด้วยกัน สองชนิดหลักๆ ก็คือ ปากกาลูกลื่นกับปากกาหมึกซึม ซึ่งปากกาทั้งสองแบบนี้เราอาจเรียกว่าเป็นพี่น้องกันก็ว่าได้ เพราะทั้งสองแบบ เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ ปากกาหมึกซึมเกิดขึ้นก่อนในราวปี ค.ศ. 1884 ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา โดย เลวิส เอ็ดซัน วอร์เตอร์แมน ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามให้เป็นบิดาแห่งปากกาหมึกซึม และในเวลาไม่กี่ปีต่อมา… ในปี ค.ศ. 1900 ปากกาลูกลื่นก็ถือกำเนิดขึ้น โดย จอห์น เอช.เลาวด์ ซึ่งก็เป็นชาวอเมริกันด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นการจะบอกว่าพวกมันเป็นพี่น้องกันก็ดูไม่จะผิดจากความเป็นจริงนัก (อย่างน้อยก็พี่น้องร่วมชาติ !) อย่างไรก็ตาม ปากกา ทั้งสองแบบมีความแตกต่างที่เป็นจุดเด่นในแบบของตนเองอยู่ ความแตกต่างของ ปากกา แบบหมึกซึมกับ ปากกาลูกลื่น มีอยู่ด้วยกันหลายข้อ อาทิเช่น… น้ำหมึก : น้ำหมึกของปากกาหมึกซึมจะมีลักษณะเหลวกว่า และแห้งช้ากว่า เวลาที่เราเขียนลงไปบนกระดาษ หากเป็นกระดาษบางหรือเราเขียนช้าๆ ก็เป็นไปได้ที่จะมีหมึกซึมเลอะไปอีกด้านของกระดาษได้ ตรงข้ามกับหมึกของปากกาลูกลื่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นหมึกแห้ง […]
Read more