หมึกปากกา กับอันตรายที่คาดไม่ถึง
ปากกาเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน สำหรับหลายคน การพกอุปกรณ์เครื่องเขียนชนิดนี้ ถือเป็นเรื่องปกติไปในชีวิตแล้ว เราใช้ปากกาในการเขียน ในหลากหลายงานที่แตกต่างกันออกไป เราก็ใช้ปากกาหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ปากกาโลหะ ปากกาพลาสติก ปากกาเน้นข้อความ ดังนั้นจึงนับได้ว่า อุปกรณ์เครื่องเขียนชนิดนี้เป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก
แต่ในทางกลับกัน มันกลับมีอันตรายบางอย่าง ไม่ใช่แค่กับตัวอุปกรณ์เครื่องเขียนชนิดนี้เอง แต่เป็นกับหมึกปากกา หรือก็คือน้ำหมึก ที่จะมีองค์ประกอบทางเคมี และสารประกอบอันตรายบางอย่างอยู่ข้างในนั้น และในวันนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องของหมึกปากกาแต่ละแบบ กับอันตรายที่มีความแตกต่างกันออกไป
หมึกปากกาทำมาจากอะไร
หมึกปากกานั้น หากเป็นรูปแบบของหมึกแห้ง โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนหลัก นั่นก็คือตัวทำละลาย สี และสารเติมแต่งอื่นๆ ในส่วนแรกคือส่วนของตัวทำละลาย หรือตัวของสารหล่อลื่น โดยทั่วไปจะใช้สิ่งที่เรียกว่าไกลคอล หรือไกลคอลอีเทอร์ หรืออโรมาติกแอลกอฮอล์ อย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ หรืออาจจะทำการผสมกัน สารเคมีที่ว่ามาเหล่านี้ มีจุดเดือดที่ค่อนข้างสูงอยู่ที่ประมาณ 180 องศาเซลเซียส จึงค่อนข้างที่จะมีความเสถียรขณะอยู่ที่อุณหภูมิห้อง การระเหยของตัวทำละลายที่บริเวณปลายของปากกา จะทำให้เกิดการปิดกั้นของตัวเองโดยอัตโนมัติ ทำให้ตัวทำละลายไม่ระเหยออกมาอีก และยังป้องกันการปนเปื้อนอีกด้วย กระบวนการนี้ไม่มีผลอย่างไรต่อการไหลของหมึก เมื่อทำการเขียนลงในกระดาษ ถึงอย่างนั้นในบางครั้ง โครงสร้างแบบนี้ก็มีผลทำให้การเขียนครั้งแรกอาจจะไม่ค่อยติด
ส่วนที่สอง คือส่วนของสี จะใช้ในรูปของผงสี ที่จะเลือกให้เหมาะสมกับตัวทำละลาย การผสมสีโดยปกติแล้ว จะต้องใช้เวลาอยู่ประมาณหนึ่ง และความสามารถในการผสมเข้ากับตัวทำละลาย ส่วนหลังนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะความเข้มข้นของสีที่ใช้นั้น จะสูงถึงร้อยละ 50 โดยน้ำหนักเลยทีเดียว ที่จะต้องใช้ความเข้มข้นสูง เพราะเฉพาะส่วนของฟิล์มบางๆ ของตัวหมึกเท่านั้นที่จะติดอยู่ลงบนกระดาษ จากใส่หมึกที่ปกติมีหมึกอยู่ประมาณ 20 ข่าวของน้ำหมึกในปากกาหมึกซึม ทำให้จะต้องใช้ปริมาณของสีที่สูงมากตามไปด้วย
ส่วนสุดท้าย คือส่วนของสารเติมแต่ง ซึ่งถูกคิดค้นโดยผู้คิดสูตร เพื่อให้ได้น้ำหมึกที่มีคุณสมบัติที่มีความเฉพาะ ส่วนนี้จะเป็นส่วนประกอบหลับของผู้ผลิตแต่ละเจ้า เพราะมีผลต่อการผลิตอุปกรณ์เครื่องเขียนรุ่นใหม่ออกมาด้วย
ตัวทำละลายที่ควรระวัง
มีตัวทำละลายบางอย่าง ที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ ยกตัวอย่างเช่นแบบเคมี ซึ่งมีตัวทำละลายอยู่หลายชนิด แต่ตัวทำละลายที่สำคัญที่ผู้ใช้งานควรจะต้องระวังคือ ดีเมททิลเบนซิน หรือไซรีน คุณสมบัติทางกายภาพของดินเมทิลเบนซิล คือเป็นสารละลายที่มีลักษณะเป็นของเหลวใส มีกลิ่นที่มีความเฉพาะตัว จะละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว 3 สามารถ ทั้งเป็นไอและเป็นของเหลวสามารถที่จะติดไฟได้
ตัวทำละลายที่ว่านี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางการกิน การสูดดม และแม้กระทั่งการซึมผ่านผิวหนัง เมื่อเข้าสู่ร่างกาย สารจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างง่ายดาย และกระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั้นศาลจะถูกเมตาบอไลท์โดยเอ็นไซน์ที่อยู่ในตับ และถูกขับออกจากร่างกายด้วยวิธีต่างๆ แต่หากยังคงหลงเหลือสู้ในร่างกาย จะทำให้ร่างกายเกิดความเป็นพิษ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหารอย่างรุนแรง การสัมผัสผิวหนังหรือดวงตาอาจทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดแผลหรืออักเสบได้