หมึกปากกา ทำมาจากอะไร
ปากกานับว่าเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำเกือบทุกวัน และบางคนถึงกับพกปากกาติดตัวอยู่เสมอด้วย ในปากกานั้นจะมีหมึกอยู่ด้วยกันสองแบบ คือหมึกแบบเปียก หรือหมึกแบบที่เป็นน้ำหมึกเลย กับอีกหนึ่งคือหมึกแบบแห้ง ซึ่งหมึกแบบเปียกนั้นจะสามารถพบได้ในปากกาประเภทปากกาหมึกซึม หรืออาจเป็นในหมึกปากกาแบบหัวแร้ง แล้วก็ยังมีอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเราเรียกว่าหมึกแบบแห้ง หมึกประเภทนี้จะอยู่ในปากกาแบบทั่วไปที่เราใช้กัน ส่วนมากจะเป็นแบบลูกลื่น เช่น ปากกาตั้งโต๊ะ ปากกาพลาสติก และเรามักจะคุ้นชินหมึกแบบนี้มากกว่า
วันนี้เราจะพามารู้จักหมึกแบบแห้งกันให้มากขึ้น ว่าหมึกแบบนี้ทำมาจากอะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
หมึกปากกาแบบแห้งนั้น โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวทำละลาย ตัวสี และสารแต่งเติม
ตัวทำละลาย หรือสารหล่อลื่น
ในองค์ประกอบส่วนแรกของหมึกแบบแห้ง นั่นคือส่วนที่เรียกว่า ตัวทำละลาย หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นสารหล่อลื่น โดยทั่วไปจะใช้สารที่เรียกว่า ไกลคอล หรือ ไกลคอลอีเทอร์ หรือ อะโรมาติกแอลกอฮอล์ อาจจะใช้สารประกอบทั้งสามส่วนนี้สารใดสารหนึ่ง หรืออาจนำสารทั้งสามนี้มาผสมกัน สารเคมีที่ว่ามาเหล่านี้ จะมีจุดเดือดที่ค่อนข้างสูง จุดเดือดอยู่ที่สูงกว่า 180 องศาเซลเซียส ด้วยเหตุนี้เอง จึงค่อนข้างมีความเสถียรเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง
การระเหยของตัวทำละลายเหล่านี้ ในบริเวณปลายปากกาจะทำให้เกิดการปิดกั้นตัวเองโดยอัตโนมัติ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ตัวทำละลายเหล่านี้ไม่ระเหยออกมา อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเปรอะเปื้อนที่บริเวณปลาย ของอุปกรณ์เครื่องเขียนของเราด้วย กระบวนการนี้ไม่มีผลต่อการไหลของหมึกเมื่อเขียนลงบนกระดาษ ถึงอย่างนั้น ในบางครั้งโครงสร้างแบบนี้ ก็อาจมีผลทำให้การเขียนเมื่อเราซื้ออุปกรณ์เครื่องเขียนมาใหม่นั้นไม่ค่อยติด หรืออาจมีปัญหาได้ ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร เพียงแค่เขียนไปไม่กี่ครั้ง เราก็สามารถหยิบอุปกรณ์เครื่องเขียนนี้มาใช้งานได้อย่างปกติทั่วไปแล้ว
สี
ส่วนที่สองนั้นก็คือสี จะใช้ในรูปแบบของผงสี โดยจะเลือกให้เหมาะสมกับตัวทำละลาย การผสมสีโดยปกตินั้นจะค่อนข้างที่จะต้องใช้เวลา และก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างอย่างเรื่องของความไวต่อแสง น้ำ ความคงทน และความสามารถในการผสมเข้ากับตัวทำละลายนั้นๆ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ค่อนข้างมีความสำคัญมาก เพราะความเข้มข้นของสีที่ใช้นั้นจะสูงถึง ครึ่งหนึ่งโดยน้ำหนัก เหตุผลที่ใช้ความเข้มข้นถึงขนาดนี้ เนื่องจากจะมีส่วนของฟิล์มบางๆ ของหมึกเท่านั้นที่จะติดอยู่บนกระดาษ และบริเวณที่สีติดกระดาษนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 20 ของปริมาณน้ำหมึกทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องใช้สีในปริมาณที่สูงมาก
สารเติมแต่ง
สารเติมเต็มนี้ ถูกคิดค้นขึ้นโดยผู้ที่คิดสูตร ทั้งนี้ก็เพื่อให้หมึกของตนมีคุณสมบัติที่มีความเฉพาะ ส่วนผสมนี้ในบริษัทผลิตอุปกรณ์เครื่องเขียนส่วนใหญ่จะเป็นความลับ เพราะจะมีผลต่อการผลิตเครื่องเขียนรุ่นใหม่ๆ ออกมา สารเติมแต่งเหล่านี้เอง จึงทำให้เรามักชอบใช้อุปกรณ์เครื่องเขียนบางรุ่น เพราะมีสีหมึกที่เป็นเอกลักษณ์ และสวยงามกว่าอุปกรณ์บางรุ่นที่เราอาจจะไม่ชอบใจมากนัก
เมื่อเราใช้อุปกรณ์เครื่องเขียนในครั้งแรกเขียนลงบนกระดาษ ในครั้งแรกนำหมึกนั้นจะไม่แห้งในทันที แต่จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายกับความชื้นในอากาศ รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่อยู่ในน้ำหมึกนั้นด้วย ทำให้หมึกที่เขียนลงบนกระดาษนั้น ในครั้งแรกจะมีความชื้นแฉะ และอาจมีการซึมมากกว่าปกติ น้ำหมึกจะแห้งสนิทเมื่อตัวทำละลาย ได้ระเหยหรือซึมลงไปในกระดาษเรียบร้อยแล้ว